การออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำส้ม

ภาพต้นแบบที่ได้ออกแบบไว้

การศึกษาเรื่องการตัดทอน

เนื่องจากมีความสนใจในเรื่องของการตัดทอน ว่ามันมีผลต่อการรับรู้อย่างไร จึงได้ศึกษาระดับของการตัดทอน และได้สรุปแบ่งเป็นระดับใหญ่ๆ ได้ 3
ระดับคือ 1. ระดับที่มีความเสมือนจริงที่มักจะเป็นภาพถ่าย 2. ระดับที่มีการตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปซึ่งมักจะเป็นภาพประกอบ 3.ระดับที่มีการตัดทอนมากที่สุด ซึ่งบางทีอาจจะดูไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือที่เราเรียกว่า abtract โดยที่การศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นไปที่บรรจุภัณฑ์ประเภทน้ำส้ม เพราะคิดว่า
บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มีอยู่มากมาย และมีการแข่งขันกันสูง ซึ่งถ้าเราสามารถสร้างความแตกต่างทางด้านแนวความคิด ที่แปลกไปจากเดิม ซึ่งเป็นอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ทุกวันคือ ภาพของขวดน้ำส้มที่มีภาพถ่ายเหมือนจริงของส้มติดเป็นฉลากที่ข้างขวด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่เราจะลองนำเอาระดับการตัดทอนมาใช้ และสามารถให้คนอื่นสามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

ตัวอย่างน้ำส้มในซุปเปอร์มาร์เกต

MUJI ของดีไม่ต้องมียี่ห้อ...

เคนย่า ฮาระ เป็นบอร์ดบริหารของมูจิ โดยเขาได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับมูจิ ตอนที่เขามาบรรยายที่เมืองไทยว่า ผลงานของเขาไม่จำเป็นต้องสวยแค่ตอบสนองและมีความเข้ากันได้ดีกับทุกเพศทุกวัย ดังเช่นที่เคยได้บอกไว้ว่า ถ้าเขาทำผลิตภัณฑ์ออกมาซักตัวถ้าเด็กอายุ18 ชอบมันคนอายุ 60 ก็ต้องชอบมันด้วยเช่นกัน โดยผลิตภัณฑ์ของมูจินั้น ตอนนี้มีอยู่ทั่วโลก และผลิตภันฑ์ทุกชิ้นก็ยังคงกลิ่นอายของชนชาติญี่ปุ่น

Nagano Olympic Games

ผลงานภายในประเทศที่โดดเด่นของฮาระ
นากาโน่ โอลิมปิกฤดูหนาวที่จัดขึ้นที่ญี่ปุ่น







ผลงานระดับนานาชาติ ซึ่งฮาระได้นำเอาวัฒนธรรมและชนชาติของตัวเอง มาผสมผสานในผลงานของเขาโดยที่ยังคงความเป็นสากลนิยม โดยที่เขาได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับหิมะ มาใช้ในหนังสือโปรแกรมการแข่งขันซึ่งจะเป็นในลักษณะของตัวข้อความที่เป็นนูนต่ำ โดยภาพที่ออกมาให้ความรู้สึกถึงความนุ่มนวลของหิมะ สื่อความหมายได้ชัดเจน ทั้งนี้ยังรวมไปถึงส่วนอื่นๆที่ฮาระยังคงเน้นความเรียบง่ายแต่สามารถแสดงเอกลักษณ์ของชนชาติได้ทั้งหมดและยังมีความเป็นสากลอีกด้วย

Katta civic polyclinic

ฮาระ กับการออกแบบภาพลักษณ์ของโรงพยาบาล





เคนย่า ฮาระ มีแนวคิิดในการออกแบบโรงพยาบาลแห่งนี้ โดยการใช้มุมมองที่มีความเรียบง่าย สามารถรับรู้ได้ง่าย โดยอาศัยอักษรสีแดง และพื้นสีขาว
ซึ่งโรงพยาบาลแห่งนี้ ฮาระต้องการให้ความรู้สึกของแม่และเด็ก ความอบอุ่น ความนุ่มนวล และความสะอาด และเขาก็ได้ใช้วัสดุที่ทำมาจากผ้าฝ้าย
มาใช้เป็นป้ายตามห้องตรวจรักษา เพื่อให้สื่อถึงความรูู้สึกที่เขาต้องการ

KENYA HARA กับวัฒนธรรมอันผสมผสาน


เคนยะ ฮาระ เกิดเมื่อปี คศ.1958 เขาไม่ใช่แค่นักออกแบบทางด้านกราฟฟิกผู้ซึ่งออกแบบหยั่งลึก ในรางเหง้าของความเป็นญี่ปุ่น แต่เขาก็ยังเป็นผู้บริหารทางด้านกราฟฟิกของ มูจิ ซึ่งเป็นตัวแทนของ Nippon Design Centre และยังเป็นอาจารย์อยู่ที่ มหาวิทยาลัย Musashino Art เขาสร้างผลงานใหม่ๆทางด้านนิเทศศิลป์ทั้งสองสาขาของเขา โดยการการมองทุกๆวัน มองชีวิตในหลายๆมุมมองได้ดีเท่ากับผลงานด้านนิเทศศิลป์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันแตอยู่บนพื้นฐานที่ยอมรับได้ ซึ่งเป็นการออกแบบที่ครอบคลุมและอาศัยการฝึกฝน การพัฒนาการออกแบบตามรากฐานของความเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนพิธีเปิดและปิด สำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่นากาโน และ ยังมีผลงานที่ Aichi Expo ในปี2005 ซึ่งเขาได้ออกแบบ ภาพรวมของความเป็นพื้นฐาน รากเหง้า ของวัฒนธรรมในญี่ปุ่น