Puff & Pie Standy in Bitech bangna



เป็นผลงานที่ทำให้กับ Puff & Pie

สัญลักษณ์ที่ใช้ในลานจอดรถของห้าง Seacon Square



สรุปจากการที่ได้จัดระบบลานจอดรถ โดยใช้สัตว์เป้นสื่อในการจัดระบบ โดยที่เราแบ่งกลุ่มสัตว์เป็นสี่กลุ่มคือ 1.สัตว์บก ซึ่งสัตว์บกก็ยังแบ่งย่อยไปเป็น
1.1สัตว์ผู้ล่า 1.2สัตว์ทุ่งหญ้า 2.สัตซืครึ่งบกครึ่งน้ำ 3. สัตว์ทะเล 4. สัตว์ปีก
ทั้งหมดนั้นก็ถูกวางตามลำดับถิ่นอาศัยของมัน เช่นนกก็อยู่ชั้นดาดฟ้า สัตว์ทุ่งหญ้าก็อยู่ลานด้านนอก ใจ้ดินก็จะเป็นสัตว์ทะเล เป็นต้น

การศึกษาเรื่องการรับรู้...

จากการที่ได้ศึกษาเรื่องการตัดทอนมาแล้วทำให้รู้ว่าการรับรู้และการตัดทอนต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกัน จึงทำให้ต้องการต่อยอดเรื่องการรับรู้
และคิดว่าลานจอดรถน่าจะเป็นสิ่งที่ใช้ในเรื่องของการรับรู้ได้ และเรื่องการจัดระบบจึงกลายเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าการจัดระบบนั้น
มีส่วนช่วยในการทำงาน ถ้าทำระบบออกมาดี การรับรู้ในลานจอดรถก็จะดีตามไปด้วย และเหตุที่ใช้สัตว์เข้ามาในงานก็เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้ ที่ทุกเพศทุกวัย สามารถใช้ประสปการณ์ที่ต่างกัน แต่สามารถรับรู้สิ่งที่เป็นมาตรฐานได้ และยังสนใจในเรื่องของการใช้ระบบการดำเนินชีวิต ถิ่นอาศัย และสายพันธ์ุ มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดระบบลานจอดรถของห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งมีความต้องการให้ผู้คนรับรู้ได้เร็ว ระบบการจดจำเป็นไปอย่างง่ายๆและมีความเกี่ยวเนี่องกันทั้งระบบ

สรุปผลการทดลองเรื่องการตัดทอน



จากการที่ศึกษาการตัดทอนมานั้นได้เห็นถึงองค์ประกอบหลายๆอย่างที่มีผลต่อการรับรู้ และถ้าลองมองดูดีๆจะเห็นว่าบรรจุภัณฑ์น้ำส้มนั้น มักมีรูปแบบคล้ายๆกัน ซึ่งถ้านำมาแยกองค์ประกอบโดยวิธีที่ได้มานั้นก็จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลักๆ คือภาพถ่าย ภาพประกอบ และ Abtract ซึ่งสัดส่วนของภาพถ่ายจะมีปริมาณที่มากที่สุด จึงทำให้เกิดแนวคิดเรื่องความเสมือนจริง แต่อยู่บนเรื่องการตัดทอน เลยทำให้ได้ลองมองย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อนที่จะมาเป็นขวดๆหนึ่ง
คือได้ลองมองไปตั้งแต่มันยังเป็นผล ยังอยู่บนต้น และตอนที่มันมาอยู่ในตลาด และออกมาเป็นผลงานข้างต้นที่สื่อถึงลูกส้ม ใบส้ม และตอนที่มันมาอยู่ในตาข่าย โดยที่ยังคำนึงถึงการใช้งาน คือการถือ และต้องมีฉลาก และต้องมีวัสดุที่จะใส่มันได้ในปริมาณมากเมื่อเราซื้อหลายๆขวด

การออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำส้ม

ภาพต้นแบบที่ได้ออกแบบไว้

การศึกษาเรื่องการตัดทอน

เนื่องจากมีความสนใจในเรื่องของการตัดทอน ว่ามันมีผลต่อการรับรู้อย่างไร จึงได้ศึกษาระดับของการตัดทอน และได้สรุปแบ่งเป็นระดับใหญ่ๆ ได้ 3
ระดับคือ 1. ระดับที่มีความเสมือนจริงที่มักจะเป็นภาพถ่าย 2. ระดับที่มีการตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปซึ่งมักจะเป็นภาพประกอบ 3.ระดับที่มีการตัดทอนมากที่สุด ซึ่งบางทีอาจจะดูไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือที่เราเรียกว่า abtract โดยที่การศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นไปที่บรรจุภัณฑ์ประเภทน้ำส้ม เพราะคิดว่า
บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มีอยู่มากมาย และมีการแข่งขันกันสูง ซึ่งถ้าเราสามารถสร้างความแตกต่างทางด้านแนวความคิด ที่แปลกไปจากเดิม ซึ่งเป็นอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ทุกวันคือ ภาพของขวดน้ำส้มที่มีภาพถ่ายเหมือนจริงของส้มติดเป็นฉลากที่ข้างขวด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่เราจะลองนำเอาระดับการตัดทอนมาใช้ และสามารถให้คนอื่นสามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

ตัวอย่างน้ำส้มในซุปเปอร์มาร์เกต

MUJI ของดีไม่ต้องมียี่ห้อ...

เคนย่า ฮาระ เป็นบอร์ดบริหารของมูจิ โดยเขาได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับมูจิ ตอนที่เขามาบรรยายที่เมืองไทยว่า ผลงานของเขาไม่จำเป็นต้องสวยแค่ตอบสนองและมีความเข้ากันได้ดีกับทุกเพศทุกวัย ดังเช่นที่เคยได้บอกไว้ว่า ถ้าเขาทำผลิตภัณฑ์ออกมาซักตัวถ้าเด็กอายุ18 ชอบมันคนอายุ 60 ก็ต้องชอบมันด้วยเช่นกัน โดยผลิตภัณฑ์ของมูจินั้น ตอนนี้มีอยู่ทั่วโลก และผลิตภันฑ์ทุกชิ้นก็ยังคงกลิ่นอายของชนชาติญี่ปุ่น